ยินดีต้อนรับเข้าสู่blogger Pongdanai

วันเสาร์ที่ 15 กันยายน พ.ศ. 2555

หน่วยที่ 2


หน่่วยที่ 2

...หน่วยที่ 2...
           
                                         หน่วยที่ 2 ระบบเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร

1. ระบบ (System) หมายถึง การทำงานขององค์ปนะกอบย่อยๆ อย่างอิสระแต่มีปฏอสัมพันธ์ซึ่งกันและกันกลายเป็นโครงสร้างที่สมบูรณ์ของแต่ ละงาน
    วิธีการเชิงระบบ (System Approach) เป็นกระบวนการคิด หรือการทำงานอย่างมีแบบแผนชัดเจนในการนำเนื้อหาความรู้ด้านต่างๆ อาจจะเป็นวิธีการหรือผลผลิตมาประยุกต์ใช้อย่างเป็นขั้นตอน เพื่อให้ได้การดำเนินงานบรรลุวัตถุประสงค์อย่างมีประสิทธฺภาพ

     2. องค์ประกอบของวิธีระบบ
1. สิ่งที่ป้อนเข้าไป ( Input ) หมายถึง สิ่งต่างๆ ที่จำเป็นต้องใช้ในกระบวนการหรือโครงการต่างๆ เช่น
ในระบบการเรียนการ สอนในชั้นเรียน อาจได้แก่ ครู นักเรียน ชั้นเรียน หลักสูตร ตารางสอน วิธีการสอน เป็นต้น ถ้าในเรื่องระบบหายใจ อาจได้แก่ จมูก ปอด กระบังลม อากาศ เป็นต้น
2. กระบวนการหรือการดำเนินงาน ( Process) หมายถึง การนำเอาสิ่งที่ป้อนเข้าไป มาจัดกระทำให้เกิดผลบรรลุตามวัตถุประสงค์ที่ต้องการ เช่น การสอนของครู หรือการให้นักเรียนทำกิจกรรม เป็นต้น
3. ผลผลิต หรือการประเมินผล (Output) หมายถึง ผลที่ได้จากการกระทำในขั้นที่สอง ได้แก่ ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียน หรือผลงานของนักเรียน เป็นต้น ผลที่ได้จากการกระทำในขั้นที่สอง การวิเคราะห์ระบบ (System Analysis)การวิเคราะห์ระบบ เป็นวิธีการนำเอาผลที่ได้ ซึ่งเรียกว่า ข้อมูลย้อนกลับ (Feed Back) จากผลผลิตหรือการประเมินผลมาพิจารณาปรับปรุงระบบให้มีประสิทธิภาพยิ่ง ขึ้น

3. ระบบสารสนเทศ (Information system) หมาย ถึง ระบบที่ประกอบด้วยส่วนต่างๆ ได้แก่ ระบบคอมพิวเตอร์ทั้งฮาร์ดแวร์  ซอฟท์แวร์  ระบบเครือข่าย  ฐานข้อมูล  ผู้ พัฒนาระบบ ผู้ใช้ระบบ  พนักงานที่เกี่ยวข้อง และ ผู้เชี่ยวชาญในสาขา  ทุกองค์ประกอบนี้ทำงานร่วมกันเพื่อกำหนด  รวบรวม จัดเก็บข้อมูล  ประมวลผลข้อมูลเพื่อสร้างสารสนเทศ และส่งผลลัพธ์หรือสารสนเทศที่ได้ให้ผู้ใช้เพื่อช่วยสนับสนุนการทำงาน การตัดสินใจ  การวางแผน  การบริหาร การควบคุม  การวิเคราะห์และติดตามผลการดำเนินงานขององค์กร

4. องค์ประกอบหลักของสารสนเทส มี 2 ประเภท ได้แก่
  1.) ระบบการคิด
  2.) ระบบเครื่องมือ

5. องค์ประกอบของสารสนเทศด้านจุดมุ่งหมาย มี 4 ประการ ได้แก่
  1.) ข้อมูล (Data)
  2.) สารสนเทศ (Information)
  3.) ความรู้ (Knowledge)
  4.) ปัญญา (Wisdom)
    องค์ประกอบของสารสนเทศด้านขั้นตอน มี 3 ประการ ได้แก่
  1.) ข้อมูลนำเข้า
  2.) กระบวนการ
  3.) ผลลัพธ์
    องค์ประกอบของสารสนเทศทั่วไป ประกอบด้วย 5 องค์ประกอบดังนี้
  1.) เครื่องคอมพิวเตอร์และเครือข่ายสื่อสารข้อมูล
  2.) ข้อมูล
  3.) สารสนเืทศ
  4.) โปรแกรมหรือซอฟต์แวร์
  5.) บุคลากรด้านคอมพิวเตอร์


6. ขั้นตอนการจัดระบบสารสนเทศ มี 3 ขั้นตอน คือ
  ขั้นที่ 1 การวิเคราะห์ระบบ
  ขั้นที่ 2 การสังค์เคราะห์ระบบ
  ขั้นที่ 3 การสร้างแบบจำลอง

7. แตกต่างกันคือ
1.ระบบสารสนเทศระดับบุคคล
คือ ระบบข้อมูลที่เสริมประสิทธิภาพและเพิ่มผลงานให้บุคลากรในแต่ละคนในองค์การ ระบบสารสนเทศระดับบุคคลนี้มีแนวทางในการประยุกต์ที่ช่วยให้การทำงานใน หน้าที่รับผิดชอบและส่วนตัวของผู้นั้นมีคุณภาพและประสิทธิภาพ
2.ระบบสารสนเทศระดับกลุ่ม
คือ ระบบสารสนเทศที่ช่วยเสริมการทำงานของกลุ่มบุคคล ที่มีเป้าหมายการทำงานร่วมกันให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น
3.ระบบสารสนเทศระดับองค์กร
คือ ระบบสารสนเทศที่สนับสนุนการดำเนินงานขององค์กรในภาพรวม ระบบในลักษณะนี้จะเกี่ยวข้องกับการปฏิบัติงานร่วมกันของหลายแผนก โดยการใช้ข้อมูลที่เกี่ยวข้อง ร่วมกันด้วยวิธีส่งผ่านถึงกันจากแผนกหนึ่งข้ามไปอีกแผนกหนึ่ง ระบบสารสนเทศดังกล่าวนี้สามารถสนับสนุน งานในระดับผู้ปฏิบัติการและสนับสนุนการตัดสินใจ เนื่องจากสามารถให้ข้อมูลจากแผนกต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง มาประกอบการตัดสินใจ โดยอาจนำข้อมูลมาแสดงในรูปแบบสรุป หรือในแบบฟอร์มที่ต้องการ บ่อยครั้งที่ การบริหารงานในระดับสูงจำเป็นต้องใช้ข้อมูลร่วมกันจากหลายแผนกเพื่อประกอบ การตัดสินใจ
8. สารสนเทศ คือ ความรู้ที่ถูกกลั่นกรองด้วยวิธีการต่างๆ เพื่อให้มีคุณค่าและมีความหมายต่อการประยุกต์ใช้งานสำหรับบุคคลหรือองค์กร ผู้ใช้สามารถนำไปใช้ได้อย่างสะดวกสบายและรวดเร็ว จะนำไปสู้ "ความรู้" ที่มีประโยชน์ต่อไป


9. การประมวลผลข้อมูลสารให้เป็นสารสนเทศ
  1.) ขั้นตอนการประมวลผลข้อมูล
   1.1 การรวบรวมข้อมูล
   1.2 การบำรุงรักษาและประมวลผลข้อมูล
   1.3 การจัดการข้อมูล
   1.4 การควบคุมข้อมูล
   1.5 การสร้างสารสนเทศ
  2.) วิธีการเก็บข้อมูล
   2.1 การสำรวจด้วยแบบสอบถาม
   2.2 การสัมภาษณ์ผู้ที่เกี่ยวข้อง
   2.3 การนับจำนวนหรือวัดขนาดของตนเอง

10. เครือข่ายสื่อสารข้อมูลที่มีขนาดพื้นที่และจำนวนเครื่องที่ใช้งานแตกต่างกัน ได้แก่
-แลน เครือข่ายบริเวณเฉพาะที่ จำกัดเขตเฉพาะ
-แวน เครือข่ายบริเวณกว้าง ระยยะทางมากกว่ากิโลเมตรขึ้นไป
-อินเตอร์เน็ต เคร้ือข่ายขนาดใหญ่ ประกอบด้วยเครือข่ายแวนจำนวนมากซึ่งครอบคลุมพื้นที่กว้างไกลทั่วโลก

2 ความคิดเห็น:

  1. สำหรับหน่วยที่ 2 หัวบล็อกยังไม่ดีเท่าไร คือไม่มีชื่อหัวเรื่องในหัวบล็อกควรปรับปรุงและส่วนของเนื้อหามีน้อยมากและไม่มีภาพ และควรให้มีการจัดหาเนื้อหาให้มากกว่านี้ส่วเนื้อหายังดูยากควรปรับปรุงส่วนบล็อกยังไม่เข้าตาเท่าไรควรปรับปรุง

    ตอบลบ